วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

บทที่ 6 เรื่องระบบเครือข่ายและโทโปโลยี

ระบบเครือข่ายเป็นระบบเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกันได้



ประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)
2. เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network :MAN)
3. เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)

เครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network หรือ LAN)เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้กันอยู่ในบริเวณไม่กว้างนัก อาจอยู่ในองค์กรเดียวกัน หรืออาคารที่ใกล้กัน เช่น ภาพในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย   ระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะช่วยให้ติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ



เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network :MAN)เป็นเครือข่ายขนาดกลาง ใช้ภายในเมือง หรือจังหวัดที่ใกล้เคียงกัน เช่น ระบบเคเบิลทีวีที่มีสมาชิกตามบ้านทั่วไปที่เราดูกันอยู่ทุกวันก็จัดเป็นระบบเครือข่ายแบบ MAN



เครือข่ายระดับประเทศ (Wide Area Network : WAN)เป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ ใช้ติดตั้งบริเวณกว้าง มีสถานีหรือจุดเชื่อมต่อมากมาย มากกว่า 1 แสนจุด ใช้สื่อกลางหลายชนิด เช่น ระบบคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ หรือดาวเทียม   เช่น องค์กรที่มีสาขาอาจทำการสร้างระบบเครือข่าย เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาที่มีอยู่ เป็นต้น  เช่น ธนาคาร



โทโปโลยี

โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์แต่ละตัวเข้ากับคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ


ข้อดี
1.การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครื่องใหม่สามารถทำได้ง่ายและไม่กระทบกับเครื่องอื่นในระบบเลย
2.ความทนทานของระบบ นั่นคือถ้าอุปกรณ์หรือสายใดเสีย จะมีผลเฉพาะอุปกรณ์นั้นไม่กระทบกระเทือนถึงระบบทั้งหมด
3.ระบุอุปกรณ์หรือสายที่เสียได้ง่าย
4.ไม่มีปัญหาการชนกันของข้อมูล ที่ทำการรับส่งในเครือข่าย
ข้อเสีย
1.มีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับสายสูง
2.ถ้าคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสียระบบเครือข่ายจะหยุดชะงักทั้งหมดทันที


โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์แต่ละตัวด้วยสายเคเบิลที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสายเคเบิลหรือบัสนี้เปรียบเสมือนกับถนนที่ข้อมูลจะถูกส่งผ่านไปมาระหว่างแต่ละเครื่องได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องผ่านไปที่ศูนย์กลางก่อน

 ข้อดี   ที่ใช้สายน้อย และถ้ามีเครื่องเสียก็ไม่มีผลอะไรต่อระบบโดยรวม
ข้อเสีย    ก็คือตรวจหาจุดที่เป็นปัญหาได้ยาก



โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)เป็นโครงสร้างที่เชื่อมคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อๆ กันไปในวงแหวนจนกว่าจะถึงเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง


ข้อดี  ของโครงสร้างแบบนี้คือ ใช้สายเคเบิลน้อย
 ข้อเสีย  คือหากมีเครื่องที่มีปัญหาอยู่ในระบบจะทำให้เครือข่ายไม่สามารถทำงานได้เลย และการเชื่อมต่อเครื่องเข้าสู่เครือข่ายอาจต้องหยุดระบบทั้งหมดลงก่อน


โทโปโลยีแบบเมช (mesh topology) การเชื่อมโยงแบบเมชนี้เป็นรูปแบบเครือข่ายที่นิยมใช้ในกรณีการสื่อสารข้อมูลถึงกันในปริมาณสูงและเป็นการส่งระยะไกล เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องสามารถ ติดต่อถึงกันได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านเครื่องอื่นๆ หรือผ่านเครื่องอื่นน้อย
ในการเชื่อมต่อจริงๆ นั้นการเชื่อมต่อแบบเมชนั้นมีการใช้งานน้อยมาก


 

โทโปโลยีแบบผสม (Hybrid Topology) เป็นเครือข่ายที่ผสมผสานโทโพโลยีแบบต่างๆ เข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่เพียงเครือข่ายเดียว เช่น การเชื่อมเครือข่ายแบบวงแหวน แบบดาว และแบบบัสเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน

ข้อดี  คือ การมีเส้นทางสำรองข้อมูล จึงได้มีการประยุกต์ใช้การเชื่อมต่อแบบเมซบางส่วน หรือการเชื่อมต่อแบบเมซที่ไม่สมบูรณ์ กล่าว คือ จะเชื่อมต่อเฉพาะสิ่งที่จำเป็นหรือสำคัญเท่านั้น
ข้อเสีย คือการเชื่อมต่อหลายจุด ใช้สายเยอะ ค่าใช้จ่ายสูง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น